ทารกน้อยเคลื่อนไหวไปมาในท้องแม่
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ทารกในครรภ์มีอวัยวะต่างๆ เกือบสมบูรณ์แล้ว สมองก็เริ่มขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อคุณแม่เคลื่อนไหว ลูกน้อยที่อยู่ในถุงน้ำคร่ำก็จะเคลื่อนไหวไปมาตามคุณแม่ไปด้วย ทำให้ผิวหนังของทารกจะรับรู้การสัมผัสกับผนังด้านในของมดลูกตลอดเวลา มีผลต่อการพัฒนาระบบประสาทส่วนรับรู้ความรู้สึก
นอกจากกิจกรรมต่างๆที่คุณแม่ทำอยู่ในชีวิตประจำวัน การเดิน ยืน นั่ง นอน ล้วนมีผลต่อพัฒนาการของลูกได้ทั้งสิ้น หากเป็นเช่นนี้ การนั่งเก้าอี้โยกย่อมมีผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์
1. การเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ด้วยวิธีการนั่งเก้าอี้โยกของคนท้อง เป็นการกระตุ้นเซลล์สมองเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและการรับรู้ของทารก
2. ทารกได้เรียนรู้การโยกอย่างเป็นระบบ คือ โยกหน้าแล้วตามด้วยหลังอยู่เสมอ เป็นอย่างนี้ทุกครั้งไป เป็นการพัฒนาเซลล์สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว
3. ขณะที่แม่ท้องนั่งเก้าอี้โยกไปมา ทารกน้อยได้เรียนรู้การตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม และปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เมื่อเก้าอี้โยกไปข้างหน้าทารกจะรู้จักเกร็งตัวไปข้างหลัง เพื่อต้านแรงโยกและพยุงตัวให้อยู่ตรงกลางเสมอ ทารกน้อยสามารถทำได้ง่ายเพราะลอยตัวอยู่ในน้ำคร่ำ การกระทำเช่นนี้เปรียบเสมือนเป็นบทเรียนให้ทารกฝึกใช้ไหวพริบ เข้าใจ และปรับตัวตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมที่เข้ามาใหม่ได้
4. เมื่อคลอดออกมาแล้ว ยังดีต่อพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ในแง่ของการพัฒนาระบบกล้ามเนื้อและการทรงตัว ทารกหลังคลอดจึงพลิกคว่ำพลิกหงายได้เร็วกว่าเกณฑ์ปกติ
เมื่อรู้แบบนี้แล้ว จึงอยากชวนคุณแม่ตั้งครรภ์มานั่งเก้าอี้โยกเพื่อเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์กันค่ะ
CR: th.theasianparent.com
--------------------
บทความที่คุณอาจสนใจ