จบเสร็จสิ้นกันไปเรียบร้อย กับโครงการประกวด La-Z-Boy Young Designer Contest 2024 ภายใต้หัวข้อ “Comfort Function and Space Design Creativity: Inspired by La-Z-Boy” ซึ่งจัดขึ้นโดย บริษัท โกลบิซ เวนเจอร์ จำกัด ผู้แทนจำหน่ายเก้าอี้โซฟาปรับเอนแบรนด์ La-Z-Boy จากสหรัฐอเมริกา ร่วมกับ สมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย (TIDA) ชิงรางวัลเก้าอี้ปรับเอน La-Z-Boy และเงินสด มูลค่ารวมกว่า 170,000 บาท ที่เริ่มเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2567 จนถึงวันประกาศผลและมอบรางวัล 5 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา
---------------------------------------------
ในหลายๆ ส่วน ของงานประกวด ตั้งแต่ขั้นตอนการประกวด หัวข้อการประกวด การประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงมหาวิทยาลัย หลักเกณฑ์การให้คะแนน บุคลากร การประสานงานกับมหาวิทยาลัย ทาง เล-ซี-บอย ได้รับคำแนะนำหลายๆ ด้านจากทางสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย (TIDA) รวมถึงทางสมาคมได้ช่วยเลือกเฟ้นหาคณะกรรมการมาช่วยลงคะแนนตัดสินผลงานกว่า 200 ผลงาน และเชิญวิทยากรพิเศษ ที่ประสบความสำเร็จในสายอาชีพด้านการออกแบบภายใน มาช่วยให้ความรู้และแนะแนวทางในการออกแบบแก่นักศึกษาจากสถาบันศึกษาต่างๆที่เข้าร่วมการประกวดในครั้งนี้
และเหล่านี้คือบทสัมภาษณ์ความคิดเห็นจากเหล่าผู้ทรงคุณวุฒิจากสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย (TIDA) ที่ได้มีโอกาสร่วมงานกับทาง La-Z-Boy :
♦ คุณกรกช คุณาลังการ (เป็ด) นายกสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย
♦ คุณพลัช ไพนุพงศ์ (อิท) Managing Director of That's Ith Interior และ กรรมการสมาคมมัณฑนากร แห่งประเทศไทย
♦ คุณโสภิต สุจริตกุล (กิฟท์) Managing Director of CGD และ กรรมการสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย
♦ คุณวรพงศ์ มนูพิพัฒน์พงศ์ (ต้น) Co-Founder of Atelier 2+ และ Design Director of Cane Collection by Podium
♦ คุณบดินทร์ พลางกูร (ต้น) Founder of Context Studio
คุณพลัช "โครงการนี้จริงๆ น่าสนใจมาก และก็เป็นโครงการที่ดีมาก เพราะว่าเราเองในฐานะที่เป็นกรรมการ TIDA ก็พยายามสนับสนุนให้น้องๆ นักศึกษา ได้มีเวทีในการแสดงออกในเรื่องของความคิดเห็น ความสามารถ ตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนอยู่ เราเห็นความสามารถของน้องๆ เด็กรุ่นใหม่ที่จะสามารถพัฒนาต่อไปในวงการในอนาคต"
คุณวรพงศ์ "ในมุมของผมเนี่ย มันได้ประโยชน์ทั้งของนักศึกษา และในขณะเดียวกันก็ได้กับตัวของ La-Z-Boy ด้วยนะครับ ที่ได้เห็นมุมมองใหม่ๆ ของ Young Designer"
คุณกรกช "ตื่นเต้นแทนน้องๆ นักศึกษานะ เพราะว่าเอาน้องทั้ง 30 คนมา แล้วมาประกาศกันต่อหน้าว่าแบบ 8 คน ใครจะได้ขึ้นไปพรีเซ้นต์อย่างนี้ พี่ก็ว่าสนุกดี คนที่ไม่ได้ขึ้นไปพรีเซ้นต์ ก็ยังมี Popular Vote ซึ่งก็น่ารักดี ในมุมของผมเนี่ย มันได้ประโยชน์ทั้งของนักศึกษา และในขณะเดียวกันก็ได้กับตัวของ La-Z-Boy ด้วยนะครับ ที่ได้เห็นมุมมองใหม่ๆ ของ Young Designer ผลงานออกมาก็ประหลาดใจนะ ว่าน้องคิดได้แบบนี้ด้วย ก็มีความรู้สึกว่า creative ของเด็กๆ มีเยอะ และก็ไปเกินกว่าที่เราจะคิด เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วก็เห็นว่าเป็นโปรแกรมที่ดี เป็นโครงการที่ดี ที่ทำให้เด็กๆ ได้ฝึกฝนในการคิดมากขึ้น"
คุณโสภิต [กล่าวถึงผลงานของนายปิยภัทร ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ] "น้องเขาได้ทำการบ้านมา จัด sizing ของตัวรถไฟเองนะคะ แล้วก็ sizing ของผลิตภัณฑ์ ที่เอาลงไปใน layout ซึ่งเขาใส่ dimension แล้วก็เหมือนกับจัดวางในลักษณะของเก้าอี้ได้ตามสัดส่วนที่มันสามารถเป็นจริงได้ เขาลงรายละเอียดนะคะ ขอชื่นชมค่ะ ในระยะเวลาเท่านี้แล้วเขาทำได้ขนาดนี้"
คุณบดินทร์ [กล่าวถึงผลงานของนางสาวณฐิตา ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2] "ส่วนตัวคิดว่ามันเป็นงานที่มันไป apply ใช้ตัวเฟอร์นิเจอร์ของทาง La-Z-Boy ครับ ได้สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้เฟอร์นิเจอร์เขาไปลงได้ จากที่ๆ เราแบบเคยติดภาพที่ว่า La-Z-Boy ต้องไปอยู่ห้องนั่งเล่นเท่านั้น มันก็เลยสามารถไปอยู่ในที่ที่แบบอยู่ในสาธารณะได้ ก็เลยชอบผลงานนี้"
คุณวรพงศ์ [กล่าวถึงผลงานของนางสาวปุณิตา ที่ได้รับรางวัลชมเชย] "จริงๆ ชอบงานมาก เพราะว่ามันเป็นภาพใหม่ของ La-Z-Boy เลย มันค่อนข้าง contrast กับตัวสินค้า ในความรู้สึกผม แต่ว่าน้องก็ทำออกมาได้แบบมันดูไปด้วยกันได้ โดยน่าสนใจมากๆ เลยครับ"
มุมมองที่มีต่อผลิตภัณฑ์ La-Z-Boy
คุณบดินทร์ "ตอนแรกอ่ะครับ ภาพเดิมๆ ของเราที่คิดว่า La-Z-Boy เนี่ย เป็นเฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้ใหญ่หน่อย แต่พอในการจัดประกวดครั้งนี้ เราก็พยายามดันให้ว่าเก้าอี้ La-Z-Boy เนี่ย มันสามารถไปอยู่ในทุกๆ space ไม่ต้องบ้านก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นร้านค้า ออฟฟิศต่างๆ"
คุณวรพงศ์ "จริงๆ ต้องบอกว่าเป็นเก้าอี้ที่นั่งสบายนะครับ เชื่อว่าไม่ว่าใครก็ตามที่ได้มาลองก็จะเหมือนโดนดูดอ่ะครับ จมไปกับการนั่งเลย"
คุณพลัช "แล้วก็อย่างหนึ่งครับ ผลิตภัณฑ์ของ La-Z-Boy ก็เห็นว่า คุณภาพเขายาวนานมาตลอด แล้วก็รักษาคุณภาพมาตลอด มีแต่ดีขึ้นๆ เรื่อยๆ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เราจะสนับสนุน การออกแบบเนี่ย และก็ความ comfortable ของผลิตภัณฑ์นี้ ให้อยู่ด้วยกันได้อย่างไร วันนี้เราเน้นในเรื่องของความเป็น Living Design อยู่แล้ว เรามีวิธีการใช้งานในบ้านให้มีความสะดวก สบาย"
--------------------
บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ